วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ท่องโลกด้วย Internet Explorer

internetB

บทที่ 2 ท่องโลกด้วย Internet Explorer

                             พื้นฐานที่ควรทราบ
                            ก่อนท่องเว็บในโลกอินเตอร์เน็ต ขอแนะนำคำศัพท์ที่ควรรู้จัก ดังนี้
เว็บเพจ ( web page )
                          ข้อมูลแต่ละหน้าที่เปิดดูได้ใน World Wide Wed นั้นมีชื่อเรียกว่า เว็บเพจ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลประเภทต่าง ๆ
เว็บบราวเซอร์
     เว็บบราวเซอร์ ( Web browser ) คือโปรแกรมที่เป็นประตูเข้าสู่โลก  ปัจจุบันมีบราวเซอร์หลายค่ายที่เราสามารถใช้เปิดดูเว็บเพจได้ เช่น Internet Explorer 7 ของไมโครซอฟท์ Firefox ของ Mozilla Corporation เป็นต้น
เว็บไซต์ ( Web site )     คือกล่มของเว็บเพจที่นำเสนอเนื้อหาเป็นเรื่องราวเดียวกัน เช่น ภายในเว็บไซต์ นั้นจะมีหน้าเว็บเพจต่างๆ เช่น NEWS ( ข่าวดัง ) และEntertainment ( บันเทิง ) เป็นต้น
โฮมเพจ
     ในแต่ละเว็บไซต์จะประกอบด้วยเว็บเพจหน้าหนึ่งให้เป็นหน้าแรก ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โฮมเพจ" ( Home page ) ทำหนาที่เป็นทางเข้าของเว็บเพจทั้งหมดในเว็บไซต์นั้น โดยโฮมเพจจะสรุปเนื้อหา เป็นเหมือนสารบัญของเว็บเพจทั้งหมดในเว็บไซต์
เข้าสู่ Internet Explorer
     Internet Explorer เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดที่บริษัทไมโครซอฟท์ ได้พัฒนาขึ้น จะเฉพระเครื่องที่ใช้ Windows XP เท่านั้น โดยผู้ที่ต้องการติดตั้งโปรแกรม Internet Explorer สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้งได้ที่เว็บไซต์www.microsoft.com/windows/ie/downloads/
     ส่วนประกอบที่สำคัญบนหน้าจอของ  Internet  Explorer
บนหน้าต่าง Internet Explorer นั้นจะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญต่างๆ  ดังนี้

     แถบชื่อ (Title Bar) เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงชื่อโปรแกรม  และชื่อเว็บเพจที่กำลังเปิดอยู่ในขณะนั้น

     แถบเมนู (Menu Bar) เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงคำสั่งต่างๆ  ให้เราได้เลือกใช้
     แถบเครื่องมือ (Tool Bar) เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงปุ่มคำสั่งหลักที่ใช้งานบ่อยๆ
     แถบที่อยู่ (Address Bar) เป็นส่วนที่ใช้ในการใส่ชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการ
     พื้นที่แสดงเว็บเพจ  เป็นส่วนที่ใช้แสดงข้อมูลในเว็บเพจ
     แถบสถานะ (Status Bar) เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงภาวะการติดต่อ  และการส่งผ่านข้อมูล

        Back       ใช้สำหรับการย้อนกลับไปยังเพจที่เคยดูก่อนหน้านี้หนึ่งลำดับ
                Forward  ใช้สำหรับเรียกดูเว็บเพจที่เคยดูก่อนหน้านี้หนึ่งลำดับ
                  Stop        ใช้สำหรับหยุดการโหลดเว็บเพจ
                    Refresh  ใช้สำหรับโหลดข้อมูล  หรือเว็บเพจให้แสดงอีกครั้ง
                  Home       ใช้สำหรับการกลับไปยังเว็จเพจที่กำหนดให้เป็นเว็บเพจเริ่มต้น
           Search       ค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต     
        Favorites  ใช้สำหรับเก็บเว็บเพจที่น่าสนใจ
                          History      เก็บรายชื่อทุกเว็บเพจที่เราเคยเรียกดูมาแล้วโดยอัตโนมัติ

                 Mail            ใช้สำหรับเรียกคำสั่งต่างๆ  ที่เกี่ยวกับอีเมล 

              Print           ใช้สำหรับพิมพ์เว็บเพจที่แสดงออกทางเครื่องพิมพ์          
                          Media         ใช้สำหรับแสดงเว็บของ  จัดทำโดยไมโครซอฟต์ซึ่งรวบรวมความบันเทิง ต่างๆ  อาทิ  เช่น  เพลงและภาพ

เปิดใช้หน้าเว็บเพจ
      เว็บเพจแต่ละหน้าใน World Wide Web จะมีตำแหน่งเก็บเจาะจงที่เรียกว่า URL เมื่่อต้องการเปิดดูเว็บเพจใดเราต้องระบุ URL ของเว็บเพจนั้นให้ Internet Explorer ทราบ

1.ใส่ชื่อที่ต้องการค้นหา จากนั้นกดปุ่ม < Enter >
2. เว็บเพจของเว็บไซต์นั้นจะเปิดขึ้นมา

 


วิธีการใช้งาน Internet Explorer

      สำหรับหัวข้อนี้ เราจะกล่าวถึงการท่องอินเตอร์เน็ตไปตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่ต้องการ รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดจากการเปิดหน้าเว็บเพจ และการทำงานอื่นๆ เกี่ยวกับInternet Explorer ดังนี้

การใช้ลิงค์ ( Link )
      ลิงค์เป็นข้อความ หรือรูปภาพ ที่เมื่อเราเลื่อนตัวชี้เมาส์ไปอยู่เหนือลิงค์ สัญลักษณ์ของตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนจาก ลูกศร เป็น รูปมือ เมื่อเราคลิกเมาส์ที่ลิงค์โปรแกรม Internet Explorer จะกระโดดไปยังเว็บเพจที่ลิงค์นั้นเชื่อมโยง ดังตัวอย่างด้านล่างเป็นการคลิกเมาส์ที่ลิงค์เพื่อเปิดดูข้อมูลเพิ่มเติม



1. คลิกลิงค์เพื่อเข้าสู่หน้าหลักของเกมส์



                                         

2. แสดงเว็บเพจของเกมส์ทำอาหาร


เปิดดูหลายหน้าพร้อมกัน
    หากเราต้องการเปิดดูเว็บเพจหลายหน้าพร้อมกัน เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการรอโหลดข้อมูลเราสามารถเปิดหน้าจอ Explorer มากกว่า 1 หน้าจอให้ทำงานไปพร้อมๆ กันเพื่อเปิดดูทีละหลายหน้าเว็บเพจได้โดยเลือกเมื่อนำเมาส์ไปวางบนปุ่ม  จะเปลี่ยนสัญลักษณ์เป็น  และเมื่อเราคลิกเมาส์แท็บ Explorer ใหม่จะปรากฏขึ้นมา
1. คลิกเมาส์เลือกที่ปุ่่ม New Tab < Ctrl +T > เพื่อเลือกแท็บใหม่ขึ้นมา


2. แท็บ Explorer ใหม่จะปรากฏขึ้นมา


     แสดงข้อความเว็บเพจภาษาไทยและภาษาต่างๆ
     เมือเราเยี่ยมชมเว็บไซต์ไทย ข้อความที่เนภาษาไทยจะแสดงอย่างถูกต้องเพราะใน Explorer มีชุดตัวอักษรภาษาไทย แต่ในกรณีที่เราพบความประหลาดเมื่อเปิดดูเว็บไซต์ภาษาไทย ทั้งๆ ที่เราได้ติดตั้ง Explorer รุ่นภาษาไทย นั่นเป็นเพราะ Explorer ไม่ได้ถูกกำหนดให้ชุดอักษรไทยมาใช้ ซึ่งเราปรับให้ใช้ชุดอักษรไทยได้ ดังนี้
1. เลือกปุ่ม Page>Encoding>Thai


2. แสดงข้อความภาษาไทยถูกต้อง


ปรับขนาดตัวอักษร และฟอนต์ที่แสดง
      ตัวอักษรเป็นส่วนประกอบหลักในเว็บเพจ ซึ่งจะบ่งบอกถึงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลของเว็บไซต์นั้นๆ เราจึงควรปรับให้ตัวอักษรมีขนาดและฟอนต์ที่เหมาะสม เพื่อให้เราสามารถอ่านข้อความนั้นได้สบายตา ทำให้อ่านง่ายขึ้น
ปรับขนาดตัวอักษร
     ในบางครั้งที่เราเข้าไปดูข้อมูลในบางเว็บเพจจะแสดงข้อความด้วยอักษรขนาดเล็กหรือใหญ่เทอะทะจนเกินไป ดังนั้นเราสามารถปรับแก้ไขการแสดงข้อความให้ตัวอักษรมีขนาดพอดีกับที่เราอ่านได้สะดวก โดยใช้คำสั่ง Page>Text Size> ขนาดตัวอักษร
1. เลือกปุ่ม Page>Text Size>Largest




2. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น


หน้าแรกเมื่อเปิด Internet Explorer
     ทุกครั้งที่เราคลิกเปิดใช้งานหน้าต่างอินเตอร์เน็ต หน้าแรกที่แสดงคือhttp://www.msn.com/  นั่นเพราะว่าผู้ผลิตได้กำหนดไว้ แต่เราสามารถกำหนดให้หน้าแรกเป็นเว็บเพจที่เราต้องการได้
1. เปิดหน้าเว็บเพจที่เราต้องการกำหนดเป็นหน้าแรก
    - คลิกปุ่ม Tools>Internet Options


3. คลิกเพื่่อกำหนดเป็นหน้าแรกและตกลงใช้งาน


พิมพ์หน้าเว็บเพจ
กำหนดรูปแบบการพิมพ์
     หากเราต้องการจะพิมพ์หน้าเว็บเพจที่กำลังเปิดแสดงอยู่ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง หรือนำ
สนอเป็นรายงาน ก่อนอื่นเราจะต้องกำหนดรูปแบบเอกสารที่จะพิมพ์เสียก่อ
1. เลือกปุ่ม Print แล้วเลือก Page Setup


2. คลิกเมาส์


พิมพ์เว็บเพจที่ต้องการ
     หลังจากที่มั่นใจแล้วว่าหน้าเว็บเพจที่จะพิมพ์ออกมาจะเป็นเอกสารตามที่ต้องการ จากนั้นก็สั่งพิมพ์ได้เลย โดยในกรณีที่เว็บเพจเป็นเฟรม เราจะต้องเลือกคลิกเมาส์เลือกเฟรมที่ต้องการจะพิมพ์ก่อน สำหรับค่ากำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพิมพ์ดังนี้
1. คลิกเมาส์เลือกเฟรมที่ต้องการพิมพ์
    - แล้วเลือกปุ่ม Print


3. คลิกเมาส์เพื่อสั่งพพิมพ์





การเข้าสู่อินเตอร์เน็ต

  1. Internet Explorer โปรแกรมสำหรับสื่อสารบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
  2.   Internet Explorer เป็นโปรแกรมสำหรับสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตที่พัฒนาโดย                                                        บริษัทไมโครซอฟท์ จุดเด่นของ Internet Explorer คือการรวมกันของโปรแกรม                                                       สำหรับให้บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ทำให้เรียนรู้ง่าย และใช้งาน ได้สะดวก                                                            Internet Explorer ประกอบด้วยโปรแกรมย่อยที่สำคัญหลายโปรแกรม












การเข้าสู่โปรแกรม Internet Explorer
การเข้าสู่โปรแกรม Internet Explorer สามารถกระทำได้หลายวิธี
วิธีที่ 1
1. คลิกที่ปุ่ม Start เลื่อนเมาส์ไปที่ Programs แล้วคลิกเลือก Internet Explorer
วิธีที่ 2
ทำการดับเบิ้ลคลิก (Double Click) สัญลักษณ์แทน Internet Explorer ที่ปรากฎอยู่บน Desktop
วิธีที่ 3
ทำการคลิก สัญลักษณ์แทน Internet Explorer ที่ปรากฎอยู่บน Taskbar
ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้
  

  •  ส่วนประกอบของหน้าต่าง Internet Explorer 



















ส่วนประกอบของหน้าต่าง Internet Explorer ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.
 แถบหัวเรื่อง (Title Bar) เป็นส่วนแสดงชื่อโปรแกรม และชื่อ เว็บขณะนั้น
2.
 แถบเมนูคำสั่ง (Menu Bar) เป็นส่วนแสดงคำสั่งต่างๆ ที่สามารถเลือกใช้ได้เมื่อคลิกที่ชื่อเมนูใด จะ ปรากฎ คำสั่งภายในเมนูนั้นให้เลือก
3.
 แถบเครื่องมือ (Tool Bar) เป็นส่วนแสดงปุ่มคำสั่งที่ใช้บ่อยๆ เพื่อให้เลือกใช้ได้สะดวกกว่า เลือกจาก แถบเมนู เมื่อเลือกตัวชี้ของเมาส์มายังไอคอน ไอคอนส่วนนั้นจะแสดงเป็นกรอบรูปและเป็นรูปสี
4.
 โลโก้ (Logo) Windows-IE เป็นส่วนที่แสดงสภาวะการดึงข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ตหากกำลังทำการดึง ข้อมูลอยู่จะแสดงรูปโลกหมุนรอบโลโก้วินโดวส์และจะหยุดนิ่งเมื่อเสร็จสิ้นการดึงข้อมูล
5.
 พื้นที่แสดงเว็บเพจ เป็นส่วนที่แสดงข้อมูลในเว็บเพจที่ดึงมาดู หากมีข้อมูลยาวเกิน หน้าจอให้ใช้ แถบเลื่อนจอภาพ (Scroll Bar) ในการเลื่อนไปดูในส่วนที่เหลือ
6.
 แถบสถานะ (Status bar) เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงสภาวะการติดต่อ และการส่งผ่านข้อมูลในระบบ

แถบเมนูคำสั่ง (Menu Bar)

                เมนูคำสั่งนั้นจะมีคำสั่งมากมาย ซึ่งจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ที่สามารถใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เมนูคำสั่งของ Internet Explorer จะมีดังนี้
File จะเป็นเมนูที่เกี่ยวกับการไปยังเว็บไซต์หรือเว็บเพจต่าง ๆ รวมไปถึงการจัดเก็บเอกสาร การพิมพ์ เอกสารนั้น ๆ
Edit ใช้ในการเลือกทำงานร่วมกับเอกสารที่อยู่บนพื้นที่ทำงาน (Workspace) ไม่ว่าจะเป็นการคัดลอก (Copy), การเคลื่อนย้าย (Cut), การวางเอกสาร (Paste) เอกสาร หรือการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ในเอกสารนั้น ๆ
View เมนูนี้ จะเป็นคำสั่งที่มีความสัมพันธ์กับปุ่มคำสั่งบนแถบเครื่องมือ (Tool Bar) บางคำสั่งเป็นคำสั่ง เดียวกัน เช่น การแสดงตัวอักษรในขนาดต่าง ๆ การดึงข้อมูลใหม่อีกครั้ง (Refresh) ใช้ในการค่าต่าง ๆ ของแถบเครื่องมือ (Tool Bar) และการดูSource ของเอกสารเว็บในขณะนั้น
Go จะเป็นคำสั่งในการไปยังเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งเก็บประวัติในการไปในที่ต่าง ๆ ด้วย
Favorites จะเป็นเมนูที่เก็บสถานที่หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ต้องการ ในกรณีที่เคยไปเยี่ยมชมมาแล้ว สามารถเพิ่มเติมสถานที่เหล่านั้นได้
Help เป็นเมนูช่วยเหลือต่าง ๆ

การใช้โฟลเดอร์ Favorites
            โฟลเดอร์ Favorites จะเป็นโฟลเดอร์ที่ใช้เก็บสถานที่ที่ชอบและเคยไปมาแล้ว ช่วยอำนวยความสะดวก ในการ ทำงาน ไม่ต้องมาเสียเวลาจำที่อยู่ URL ซึ่งอาจจะยากและยาวเกินไป ซึ่งมีวิธีการใช้โฟลเดอร์ Favorites ดังนี้
1. สมมติว่า ต้องการไปยังเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ก็ทำได้โดยการพิมพ์ http://www.thairath.com ลงในช่อง Address แล้วกดปุ่ม Enter หรือ คลิกปุ่ม Go
2. หากต้องการเก็บเว็บไซต์นี้เอาไว้ในโฟลเดอร์ Favorites ทำได้โดยคลิกที่เมนูคำสั่ง Favorites จากนั้นเลือก คำสั่ง Add to Favorites หรืออาจคลิก (Click) ขวาที่ส่วนของหน้าเอกสารแล้วเลือก คำสั่ง Add to Favorites ก็ได้












จะปรากฏไดอะล็อก Add to Favorites ปรากฎขึ้นมา ให้กำหนดชื่อที่ต้องการจะจัดเก็บ จากนั้นกดปุ่ม OK













4. เมื่อต้องการมาที่เว็บไซต์นี้อีกครั้งในภายหลัง ก็สามารถเรียกใช้จากเมนูคำสั่ง Favorites
 ได้ทันที โดยที่ ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ ที่อยู่ URL ในช่อง Address ใหม่

 






2. แถบที่อยู่ (Address bar) เป็นส่วนที่แสดงตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพจขณะนั้น และยังเป็นส่วนที่ใช้ในการเข้าไปสู่หน้าโฮมเพจ (Homepage) ต่าง ๆ โดยที่ผู้ใช้ต้องป้อนชื่อโฮมเพจ (Homepage) ต้องการเข้าไปในโฮมเพจ (Homepage) ของสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี ก็ต้องพิมพ์ http://www.risurat.ac.th ลงในช่อง Address แล้วกด Enter หรือคลิกเมาส์ ที่ปุ่ม Go ก็จะเข้าสู่เว็บเพจของสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี

 การไปยังเว็บเพจที่ต้องการ










เมื่อเปิดโปรแกรม Internet Explorer ขึ้นมาจะเจอกับหน้าเว็บเพจที่ถูกกำหนดไว้ก่อนหน้านั้น เช่น http://www.apa.risurat.ac.th/~it ซึ่งในกรณีที่ต้องการเริ่มต้นไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ในที่ต่าง ๆ โดยที่ทราบที่อยู่ URL เช่น ต้องการไปยังเว็บไซต์ของบริษัท ดีแทค (http://www.dtac.co.th) สามารถทำได้ดังนี้
1.
 ใช้เมนูคำสั่ง File เลือกคำสั่ง Open บนแถบเมนูคำสั่ง (Menu Bar) แล้วพิมพ์คำว่า http://www.dtac.co.th ในช่อง Open จากนั้นกดปุ่ม OK

2. หรืออาจพิมพ์ http://www.dtac.co.th ลงในช่อง Address ได้โดยตรงแล้วกดปุ่ม Enter หรือคลิกปุ่ม Go ก็ได้









3. ในการพิมพ์ URL เอง ใน Internet Explorer ไม่จำเป็นต้องพิมพ์คำว่า http:// ที่อยู่ข้างหน้าก็ได้ เช่น http://www.dtac.co.th สามารถพิมพ์แค่ www.dtac.co.th ได้
4. ในกรณีที่ไม่ได้เปิด Internet Explorer ครั้งแรก และเคยไปยังสถานที่ต่าง ๆ มาก่อน ก็สามารถกดปุ่ม ลิสต์รายการที่อยู่ด้านขวาสุดของช่อง Address เพื่อเรียกดูสถานที่ที่เคยไปมาแล้ว มาใช้งานอีกก็ได้











การเก็บบันทึกหน้าเว็บเพจ

การบันทึกหน้าเว็บเพจลงในฮาร์ดดิสก์
บางครั้งเมื่อเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ชื่นชอบแล้วต้องการเก็บเว็บเพจนั้น ๆ

 เอาไว้ เพื่อเข้ามาดูใหม่อีกครั้ง โดยไม่ต้องเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต 
ก็สามารถทำได้ไม่ยากนัก มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เข้าไปยังหน้าเว็บเพจที่ชื่นชอบ เช่น http://www.narak.com
2. จากนั้น ใช้เมนูคำสั่ง File เลือกคำสั่ง Save As บนแถบเมนูคำสั่ง (Menu Bar)












3. เลือกที่ที่ต้องการจัดเก็บไฟล์นี้เอาไว้ จากนั้น ตั้งชื่อไฟล์แล้วกดปุ่ม Save







4. หากต้องการจัดเก็บข้อมูลของตัวลิงก์ (Link) นั้น ทำได้โดยการคลิก (Click) ขวาที่ลิงก์ (Link) นั้น แล้วเลือก คำสั่ง Save Target As














5. จากนั้น ทำการกำหนดสถานที่ที่ต้องการบันทึกไฟล์












6. ในกรณีที่ต้องการดูไฟล์นั้น ๆ ก็ให้ใช้ เมนูคำสั่ง File เลือกคำสั่ง Open บนแถบเมนูคำสั่ง (Menu Bar)
7. เมื่อปรากฎไดอะล็อกการเปิดไฟล์ ให้กดปุ่ม Browse เลือกไฟล์ที่ต้องการดู ไฟล์นั้นก็จะปรากฎขึ้นมา
8. เมื่อเลือกไฟล์ข้อมูลที่ต้องการจะเปิดเรียบร้อยแล้ว ก็คลิกที่ปุ่ม Ok
อย่างไรก็ตาม วิธีการบันทึกนี้ จะไม่ได้บันทึกรูปภาพที่อยู่ในเว็บเพจนั้นมาด้วยหากต้องการดูรูป ก็ต้องบันทึก ไฟล์รูปต่างหาก

1 ความคิดเห็น: